ตาลปัตร กฐิน (คละสี)

รหัสสินค้า

ชื่อ : ตาลปัตร กฐิน (คละสี)
รุ่น : -
ราคา : ติดต่อผู้ขาย

รายละเอียด : 
ตาลปัตร กฐิน (คละสี) บรรจุ1*12ด้าม

จำนวน:
จำนวนผู้เข้าชมสินค้า 395 คน

      คำว่า “ตาลปัตร” หรือ “ตาลิปัตร” เป็นคำภาษาไทยที่นำมาจากภาษาบาลีว่า ตาล ปตฺต แปลว่า ใบตาล ซึ่งใบตาลนี้เป็นสิ่งที่คนทั่วไปใช้บังแดดและใช้พัดกระพือเอาลมเข้าหาตัวเพื่อคลายความร้อนมาตั้งแต่สมัยโบราณ และถือเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่งในประเทศเขตเมืองร้อน ดังนั้น ตาลปัตร จึงหมายถึง พัดที่ทำจากใบตาลนั่นเอง โดยคำว่า “พัด” ที่ภาษาบาลีเรียกว่า “วิชนี” นี้ มีความหมายว่า เครื่องโบกหรือเครื่องกระพือลม และไทยได้นำมาแปลงเป็น “พัชนี” ต่อมาคงเรียกกร่อนคำให้สั้นลงเหลือเพียง “พัช” ออกเสียงว่า “พัด” แล้วก็คงใช้เรียกและเขียนกันจนลืมต้นศัพท์ไป 
      “ตาลปัตร” หรือบางแห่งก็ใช้คำว่า “วาลวิชนี” (ที่เดิมหมายถึง เครื่องพัดโบกสำหรับผู้สูงศักดิ์) นี้ ดั่งเดิมคงหมายถึง สิ่งที่ใช้พัดวีเช่นเดียวกัน จะต่างกันก็ตรงวัสดุที่ใช้ คือ ตาลปัตรทำด้วยใบตาล แต่”วาลวิชนี” อาจจะทำด้วยวัสดุอื่นๆ เช่น ผ้าแพร ขนนก ขนหางสัตว์ เป็นต้น ซึ่งสมัยก่อน “พัด” ที่พระถือกันอยู่สมัยแรกๆนั้นจะทำด้วยใบตาลจึงเรียกว่า “ตาลปัตร” ต่อมาแม้จะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นวัสดุอื่นหรือตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดารอย่างไรก็ยังคงเรียกว่า“ตาลปัตร” อยู่เช่นเดิม และถือเป็นสมณบริขารอย่างหนึ่งของพระสงฆ์สำหรับสาเหตุที่พระสงฆ์นำ “ตาลปัตร” มาใช้นั้น ได้มีผู้ให้ความเห็นต่างๆ กันไป บางท่านก็ว่า การใช้ตาลปัตรครั้งแรกดั่งเดิมนั้น มิใช่เพื่อบังหน้าเวลาเทศน์ แต่ใช้เพื่อกันกลิ่นเหม็นของศพที่เน่าเปื่อย เนื่องจากพระสงฆ์ในสมัยโบราณจะต้องบังสุกุลผ้าห่อศพไปทำจีวร ดังนั้น ท่านจึงต้องใช้ใบตาลขนาดเล็กมาบังจมูกกันกลิ่น จากนั้นต่อมาก็เลยกลายเป็นประเพณีของสงฆ์ที่จะถือตาลปัตรไปทำพิธีต่างๆ โดยเฉพาะในพิธีปลงศพ